ทำความรู้จัก Shipping คืออะไร

Last updated: 22 ก.พ. 2566  |  444 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความรู้จัก Shipping คืออะไร

Shipping คำที่หลายคนน่าเริ่มคุ้นหูกันขึ้นมาบ้างในปัจจุบันนี้โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ทำธุรกิจพรีออเดอร์สินค้า (Pre-Order) ซึ่งเราคงจะมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันว่า Shipping คือ ช่องทางการส่งของหรือสินค้าทางเรือ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Shipping มีความหมายที่แตกต่างจากที่เราเข้าใจอยู่พอสมควร ซึ่งวันนี้ AJ E-Commerce จะพาคุณมาทำความรู้จักว่า Shipping คืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท แล้วเหมาะกับใครบ้าง ไปดูกัน

Shipping คืออะไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มทำธุรกิจ

 

 

Shipping คือ บริษัท องค์กร หรือบุคคลที่เป็นตัวแทนในการนำเข้า-ส่งออกสินค้าต่าง ๆ รวมถึงคอยทำหน้าที่ในการดำเนินการด้านเอกสารสำหรับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ผ่านการติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร นอกจากนี้ยังคอยให้บริการในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออกสินค้า ซึ่งผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนออกของ (Shipping) จะต้องขออนุญาตกับกรมศุลกากร และต้องได้รับการอบรมตามหลักสูตรตัวแทนออกของ (Shipping) รวมถึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ด้วย เพื่อคอยดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ และความยุ่งยาก  นอกจากนี้ ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้การนำเข้า-ส่งออกสินค้ามีความราบรื่น และถึงมือผู้รับตรงเวลามากที่สุด ดังนี้

รายการเอกสารสำหรับการนำเข้า

  1. Commercial Invoice
  2. Packing List
  3. B/L (Bill of lading)
  4. D/O (Delivery Order)
  5. เอกสารประกอบเพิ่มเติมในกรณีต่างๆ เช่น MSDS (Material safety data sheet), อย.(อาหารและยา), สมอ.(มาตรฐานอุตสาหกรรม), C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด) เป็นต้น

รายการเอกสารสำหรับการส่งออก

  1. Commercial Invoice
  2. Packing List
  3. เอกสารประกอบเพิ่มเติมในกรณีต่าง ๆ เช่น MSDS (Material safety data sheet), อย.(อาหารและยา), สมอ.(มาตรฐานอุตสาหกรรม), C/O Form (เอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด) เป็นต้น

 

Shipping มีกี่ประเภท

 

 

เมื่อได้ทำความรู้จักกันไปแล้วว่าความหมายที่แท้จริงของ Shipping คืออะไร อันดับต่อไปก็ต้องมาทำความรู้จักว่า Shipping มีกี่ประเภท โดยหลักแล้ว Shipping มีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping) และ ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO - Authorized Economic Operator)

1.ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping)

ตัวแทนออกของทั่วไป (Shipping) คือตัวแทนเจ้าของสินค้าที่ติดต่องานเอกสารกับกรมศุลกากรเพื่อนำเข้า-ส่งออกสินค้า โดยจะต้องเป็นบุคคลที่ยื่นคำขออนุญาตเป็นตัวแทนออกของต่อและปฏิบัติตามมาตรฐานของกรมศุลกากร

2.ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO - Authorized Economic Operator)

ตัวแทนออกของมาตรฐานเออีโอ (AEO) คือตัวแทนออกของทั่วไปที่ต้องการยกระดับการบริการ มาตรฐานความปลอดภัย และศักยภาพสู่ระดับสากล โดยสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอรับการคัดเลือกตามเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ศุลกากรกำหนดได้  ซึ่งผู้ที่เป็นตัวแทนออกของระดับมาตรฐานเออีโอจะสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรด้วยความสะดวกรวดเร็ว รวมถึงได้รับสิทธิพิเศษของทางศุลกากรได้มากขึ้นอีกด้วย

โดยองค์การศุลกากรโลก (WCO) ได้ให้คำนิยามมาตรฐานของ AEO ไว้ว่า “องค์กรหรือบริษัทที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยได้รับการรับรองจากศุลกากรของแต่ละประเทศว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของ WCO หรือมาตรฐานอื่นที่เที่ยวเท่าในเรื่องการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน” ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองด้านความปลอดภัยทั้ง 8 ด้าน ดังนี้

  • ความปลอดภัยในการเข้า-ออกอาคารสถานที่
  • ความปลอดภัยในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงาน
  • ความปลอดภัยในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจ
  • ความปลอดภัยในเรื่องสินค้า
  • ความปลอดภัยสำหรับยานพาหนะขนส่งสินค้า
  • การรักษาความปลอดภัยข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การบริหารจัดการและการสืบสวน
  • การบริหารจัดการเมื่อเกิดวิกฤตการณ์หรือเหตุฉุกเฉินขึ้น และแนวทางดำเนินการแก้ไข

 

Shipping เหมาะกับใครบ้าง

 

 

การใช้บริการ Shipping เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ทำธุรกิจพรีออเดอร์ (Pre-Order) สินค้าจากต่างประเทศเพราะการใช้ Shipping จะทำให้ได้สินค้าในราคาที่ถูกกว่า และสามารถสั่งได้ทีละจำนวนมากได้ นอกจากนี้ Shipping บางเจ้ายังคอยอำนวยความสะดวกในเรื่องของเอกสารการผ่านศุลกากรต่าง ๆ หรือเคลียร์ภาษีนำเข้าได้อีกด้วย ทั้งนี้ ก็ควรจะศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของ Shipping แต่ละรายให้ดีเสียก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง

ได้ทำความรู้จักกันไปแล้วว่า Shipping คืออะไร รวมถึง Shipping มีกี่ประเภทและเหมาะกับใครบ้าง สำหรับคนที่ต้องการจะทำธุรกิจ Shipping ก็อย่าลืมศึกษาข้อกำหนด หลักเกณฑ์ และระเบียบปฏิบัติของกรมศุลกากรให้ถี่ถ้วน รวมถึงดำเนินการตามข้อปฏิบัติเหล่านั้นให้ถูกต้อง และสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องการใช้บริการ Shipping เพื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ หรือแม้แต่ส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ ก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดและเงื่อนไข รวมถึงตรวจสอบความน่าเชื่อถือของ Shipping แต่ละรายให้ดี เพื่อให้สามารถนำเข้า-ส่งออกสินค้าได้อย่างราบรื่น หรือจะเข้ามาสอบถามข้อมูลกับ AJ E-Commerce พาร์ทเนอร์ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศผ่าน Alibaba ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกิจของคุณง่าย และสะดวกสบายได้อย่างแน่นอน

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้