เตรียมพร้อมก่อนส่งออกสินค้าไทยไปดูไบ

Last updated: 12 ธ.ค. 2566  |  279 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เตรียมพร้อมก่อนส่งออกสินค้าไทยไปดูไบ

ในการนำสินค้าไทยส่งออกดูไบมีเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ นั่นก็คือ เรื่องของป้ายฉลากสินค้าอาหารที่ทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความเข้มงวดเป็นอย่างมาก ทำให้การส่งสินค้าไปยังดูไบจำเป็นต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับอาหารอย่างเคร่งครัด การทำเช่นนี้ก็เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และง่ายต่อการตรวจเช็กสินค้าที่มีการนำเข้าด้วยนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการส่งออกสินค้าไปยังดูไบ ซึ่งเรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งออกก็มีดังนี้ 

5 เรื่องต้องรู้ เตรียมพร้อมก่อนส่งออกสินค้าไปดูไบ

ในการนำสินค้าไทยส่งออกดูไบมีเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจ นั่นก็คือ เรื่องของป้ายฉลากสินค้าอาหารที่ทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความเข้มงวดเป็นอย่างมาก ทำให้การส่งสินค้าไปยังดูไบจำเป็นต้องทำตามกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับอาหารอย่างเคร่งครัด การทำเช่นนี้ก็เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และง่ายต่อการตรวจเช็กสินค้าที่มีการนำเข้าด้วยนั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการส่งออกสินค้าไปยังดูไบ ซึ่งเรื่องที่ควรรู้ก่อนส่งออกก็มีดังนี้


1. ช่องทางนำเข้าสินค้า


เรื่องแรกที่ต้องรู้คือเรื่องของช่องทางการนำเข้าสินค้า ที่ทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มีการแบ่งช่องทางการนำเข้าเอาไว้หลายช่องทาง ดังนี้

  • การนำเข้าสินค้าผ่านทางเรือ ที่จะประกอบไปด้วยการขนส่งสินค้าระหว่างเขตปลอดภาษี (Free Zone), การขนส่วนสินค้าจากพื้นที่อื่นมายังเขตปลอดภาษี (Free Zone) และ การขนส่งสินค้าจากเขตปลอดภาษี (Free Zone)
  • การนำเข้าสินค้าผ่านทางอากาศ
  • การนำเข้าสินค้าผ่านทางรถยนต์


2. ประเภทสินค้าที่นำเข้าดูไบ


เรื่องต่อมาที่ควรเตรียมตัวและทำความเข้าใจก่อนการส่งออกสินค้าไปยังดูไบเช่นกัน ก็คือ เรื่องของประเภทสินค้าที่สามารถนำเข้าดูไบได้ โดยทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มีการจัดกลุ่มสินค้าที่นำเข้าประเทศได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ 

  • สินค้าแบบปกติที่ไม่ได้มีการห้าม หรือว่าสินค้าที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมแบบเข้มงวด
  • สินค้าต้องห้าม โดยจะเป็นสินค้าที่ไม่ได้รับการอนุญาตให้นำเข้าประเทศ ซึ่งจะได้แก่ ยาเสพติดทุกชนิด, ธนบัตรปลอม, นิตยสาร, สิ่งพิมพ์, รูปปั้น, ไพ่, ภาพสีน้ำมัน และรูปถ่าย ทั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่เป็นไปตามหลักศาสนาจึงต้องมีการควบคุมไม่ให้มีการนำเข้า

  • สินค้าควบคุมเข้มงวด เป็นสินค้าที่อนุญาตให้นำเข้าได้แต่จะอยู่ภายใต้ภาวะที่กำหนดเอาไว้ของประเทศ โดยจะนำเข้าไม่ได้หากไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐ ซึ่งสำหรับอาหารแล้วก็จัดว่าเป็นสินค้าที่จะมีการควบคุมอย่างเข้มงวด

 

3. เอกสารที่ต้องเตรียม

สำหรับการนำเข้าสินค้าเข้าดูไบโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าที่เป็นอาหารที่มีความเข้มงวดในการนำเข้ามาก ๆ ผู้นำเข้าจำเป็นที่จะต้องได้รับใบประกอบการนำเข้า และจะต้องเป็นสมาชิกของหอการค้าและอุตสาหกรรม ทั้งนี้ก็จะมีเอกสารที่จำต้องใช้ในการนำเข้าสินค้าอยู่หลายอย่าง เพื่อใช้ในการติดต่อการค้า ซึ่งมีดังต่อไปนี้
  • เอกสารใบแจ้งราคาสินค้า (Invoice) ที่จะต้องแสดงรายละเอียดของสินค้า, ราคาต่อหน่วย, มูลค่ารวมของสินค้า, ชื่อของผู้ที่ผลิต, ผู้ส่ง, ผู้รับ และรวมถึงผู้นำเข้าด้วย ซึ่งเอกสารจะต้องได้รับการประทับตรารับรองจากหอการค้าไทยด้วย ทั้งนี้จะใช้เอกสารสำเนาจำนวนอย่างน้อย 3 ฉบับ
  • ใบรับรองจากประเทศต้นทาง (Certificate of origin) เป็นเอกสารที่จะแสดงเกี่ยวกับรายละเอียดของสินค้า, ชื่อ, ที่อยู่ผู้ผลิต, ประเทศที่อยู่ต้นทาง และตราประทับที่ได้จากหอการค้าไทย โดยจะต้องทำการประตรารับรองจากสถานทูตอาหรับในประเทศไทยด้วย ทั้งนี้จะใช้เอกสารสำเนาจำนวนอย่างน้อย 3 ฉบับ
  • เอกสารใบขนสินค้า (Bill of landing) ที่จะแสดงรายละเอียดของสินค้าชื่อ, ที่อยู่ทั้งของผู้ส่ง ผู้ขนส่ง และผู้รับ อีกทั้งยังต้องมีรายละเอียดของค่าระวางด้วย ทั้งนี้จะใช้เอกสารต้นฉบับจำนวนอย่างน้อย 1 ฉบับ
  • เอกสารบัญชีสินค้าที่บรรจุ (Packing list) เป็นเอกสารที่จะต้องแสดงถึงรายละเอียดของสินค้าแต่ละหีบห่อ, การบรรจุหีบห่อ และจำนวนหีบห่อ ซึ่งเอกสารที่ใช้จะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ
  • ใบรับรองการฆ่าสัตว์ตามกฎของศาสนาอิสลาม (Halal certificate) เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับการนำเข้าเนื้อสัตว์และสัตว์ปีก โดยจะต้องมีการขอใบรับรองด้วยว่าผ่านการฆ่าตามวิธีการที่ถูกต้องตามหลักของศาสนาอิสลาม ซึ่งได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทั้งนี้เอกสารที่ใช้จะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ
  • ใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Health certificate) เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับการนำเข้าเนื้อสัตว์ โดยจะต้องมีการรับรองด้วยว่าสุขภาพของสัตว์นั้นเป็นไปตามที่กำหนด ซึ่งจะต้องผ่านการรับรองจากกรมปศุสัตว์ และหากว่าเป็นสัตว์น้ำก็จะต้องผ่านการรับรองจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้เอกสารที่ใช้จะต้องเป็นเอกสารต้นฉบับ
  • ใบรับรองปลอดโรคพืช (Phytosanitary Certificate) เอกสารนี้จะใช้ในกรณีที่นำเข้าพืช โดยจะต้องเป็นพืชที่ได้รับใบประกอบโรคพืช จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศต้นทางก่อน ซึ่งในประเทศไทยสามารถขอใบรับรองได้จากกองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

4. ภาษีข้อจำกัดการนำเข้าและเอกสารประกอบการนำเข้า

อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้เอาไว้ในการส่งออกสินค้าไปยังดูไบก็คือ เรื่องของภาษีข้อจำกัดการนำเข้าและเอกสารประกอบการนำเข้า โดยมีเอกสารที่สำคัญดังนี้

  • ใบขนขึ้นท่าเรือทางทะเล (Sea Port Bills) เป็นเอกสารที่ผู้นำเข้าจะต้องมีรหัสนำเข้า โดยรหัสดังกล่าวทางกรมศุลกากรจะเป็นผู้ออกให้ ซึ่งจะได้รับรหัสก็ต่อเมื่อผู้นำเข้ามีการเข้ายื่นคำร้องร่วมกับการทำสำเนาใบอนุญาตการค้า 
  • ใบนำเข้า (Import Bills) เป็นเอกสารที่ผู้รับสินค้าหรือว่าตัวแทนจะต้องมี โดยจะได้รับใบสั่งให้ส่งของจากบริษัทตัวแทนส่งของมาให้ ทั้งนี้ใบนำเข้าจะต้องมีการนำมาแสดงต่อหน้าศุลกากรทั้งต้นฉบับและสำเนา ซึ่งต้องนำมาแสดงพร้อมเอกสารอื่น ๆ พร้อมกันด้วย ดังนี้
    • เอกสารใบแจ้งราคาสินค้าใบต้นฉบับ
    • ใบรับรองประเทศต้นทางใบต้นฉบับ
    • เอกสารบัญชีสินค้าที่บรรจุ
    • เอกสารใบขนสินค้าต้นฉบับสองแผ่น

นอกจากเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องจัดเตรียมแล้วก็ยังมีในเรื่องของภาษีที่จะต้องมีการชำระด้วย โดยจะสามารถชำระภาษีได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การชำระด้วยเงินสด, ใบสั่งจ่ายเช็ค, ใบประกันภาษีศุลกากรที่ออกให้โดยธนาคาร, การรับเงินของธนาคาร (ในกรณีที่ชำระผ่านธนาคาร), เครดิตภาษีศุลกากรที่ออกแทนการประกัน และเงินฝากเพื่อภาษีศุลกากร

 

5. ปัญหาของป้ายฉลากไทยที่มักจะพบเจอ

อย่างไรก็ตามการนำสินค้าไทยส่งออกดูไบก็มีปัญหาเกี่ยวกับฉลากป้ายไทยอยู่บ่อย ๆ โดยปัญหาที่พบเจอได้บ่อยก็มีดังนี้
  • การที่ผู้ส่งออกทำการพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุลงบนแผ่นสติ๊กเกอร์ของสินค้า หรือส่วนที่สามารถลอกออกได้ ทำให้ไม่เป็นเกิดความไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 
  • การที่ผู้ส่งออกทำการพิมพ์วันผลิต และวันหมดอายุลงบนตัวกระป๋อง และรายละเอียดที่มีก็อยู่ตรงกับข้อความที่อยู่บนป้ายฉลาก
  • สำหรับวันที่ผลิตและวันหมดอายุของสินค้านั้นจะต้องเป็นไปตามความจริงเท่านั้น โดยทางประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จะรับสินค้าที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเหลือค้างสินค้าในสต๊อก

 

สรุปบทความ

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้เลยว่าการนำสินค้าไทยส่งออกดูไบก็สิ่งที่สำคัญและมีเรื่องที่ต้องระวังมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกสินค้าที่เป็นอาหาร ซึ่งเป็นสินค้าควบคุมที่มีความเข้มงวดเป็นอย่างมาก ดังนั้นก่อนการส่งออกสินค้าไปยังดูไบก็อย่าลืมศึกษารายละเอียดให้ดี และควรเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศนั่นเอง


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้