ทำความเข้าใจกับ Supply Chain สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

Last updated: 7 ก.ย. 2566  |  487 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความเข้าใจกับ Supply Chain สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร

ในวงการของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจนำเข้าหรือธุรกิจ การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ supply chain คือ สิ่งสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนๆ หรือกระบวนการอุตสาหกรรมใด ย่อมเกี่ยวข้องและมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการซื้อขายอยู่เสมอ การจัดการเกี่ยวกับความต้องการของสินค้า มีผลต่อการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นหัวข้อสำคัญที่ควรได้รับการวางแผนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจในรูปแบบอุตสาหกรรมใดก็ตาม

Supply Chain คืออะไร

ทำความเข้าใจและทำความรู้จักเกี่ยวกับ supply chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน กระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การติดต่อซัพพลายเออร์ (Supplier) หรือกระบวนการนำเข้าวัตถุดิบ ไปตลอดจนกระบวนการผลิต และการจัดเก็บรวบรวมสินค้า ไปจนถึงขั้นตอนการจัดส่งสินค้า ให้ถึงผู้บริโภคหรือถึงมือลูกค้า เพื่อการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ลดภาระค่าใช้จ่าย เพื่อให้ธุรกิจสามารถที่จะเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างดียิ่งขึ้น หรือเป็นการอธิบายง่ายๆ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในกระบวนการตั้งแต่การผลิต จัดจำหน่าย และการขนส่ง ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงถึงกัน ให้ลูกค้าประทับใจต่อสินค้าและการบริการ

ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับ Supply Chain

supply chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน ในเชิงธุรกิจนั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดๆ supply chain มักมีความเกี่ยวข้องกับ 5 ส่วนเหล่านี้ 

  • Suppliers : ผู้สนับสนุนด้านวัตถุดิบ
  • Manufacturers: ผู้ผลิต
  • Wholesalers: ผู้กระจายสินค้า         
  • Retailers: ผู้ค้าปลีก           
  • Customer: ผู้บริโภค

 

องค์ประกอบของ Supply Chain

องค์ประกอบของ supply chain คือ กระบวนการต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนที่มีความสำคัญในเชิงของธุรกิจ กระบวนการที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริโภคและลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน และมีการเชื่อมโยงกันด้วยเทคโนโลยีที่มีการดำเนินประสานงานกันได้อย่างคล่องตัว โดยประกอบไปด้วย ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต (Upstream Supply Chain), ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิต (Internal Supply Chain) และห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า (Internal Supply Chain)

1. Upstream Supply Chain

ห่วงโซ่อุปทานก่อนการผลิต (Upstream Supply Chain) กล่าวคือ การจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ ทั้งการประสานงาน การจัดซื้อ การพูดคุยเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุดิบ ราคา และการตรวจสอบข้อมูลเพื่อหาซัพพลายเออร์เจ้าที่ดีที่สุด ที่ดีต่อผลิตภัณฑ์และสินค้า

2. Internal Supply Chain

ห่วงโซ่อุปทานภายในการผลิต (Internal Supply Chain) กล่าวคือ การเปลี่ยนวัตถุดิบที่ได้จากซัพพลายเออร์เจ้าต่างๆ มาทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือสินค้า ตั้งแต่กระบวนการวัตถุดิบเบื้องต้น การประกอบ ไปจนถึงการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือสินค้า

3. Downstream Supply Chain

ห่วงโซ่อุปทานในการจัดส่งสินค้า (Internal Supply Chain) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคหรือลูกค้าให้ได้คุณภาพ ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบคุณภาพสินค้า และกระบวนการแพ็คสินค้า ความถูกต้องของผลิตภัณฑ์และสินค้า

การจัดการ Supply Chain ส่งผลต่อการทำธุรกิจอย่างไร

ในการจัดการระบบ supply chain คือ ในธุรกิจแล้วเปรียบเสมือนการอัปเกรดธุรกิจตั้งแต่ระบบการอุตสาหกรรมหรือการผลิตในทุกๆ ขั้นตอน ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า โดยจะส่งผลดีอย่างมากต่อกระบวนการทำงาน ให้สามารถทำงานได้ง่าย เร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถมองเห็นภาพรวมที่แท้จริงของกระบวนการผลิตหรือภาพรวมของอุตสาหกรรม ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมทั้งความผิดพลาดและสิ่งที่ส่งผลดีต่อธุรกิจ สามารถช่วยลดต้นทุนโดยรวมของอุตสาหกรรมการผลิตไม่ให้เสียทุนไปโดยเปล่าประโยชน์ อย่างเช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบที่เกินความจำเป็น ทำให้สามารถแก้ถึงปัญหาที่เคยเกิดขึ้นกับธุรกิจในอดีต และสามารถที่จะแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดในอนาคตได้อย่างทันท่วงทีจากการอ้างอิงข้อมูลที่มีการเก็บบันทึกไว้

สรุปบทความ

ในการทำธุรกิจ Supply Chain หรือ ข้อมูล ห่วงโซ่อุปทาน เป็นหนึ่งในสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากการทำธุรกิจจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลในการปรับเปลี่ยน หรือแก้ปัญหา ให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าไปได้ง่ายและเติบโตโดยเร็ว การใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเอามาเก็บข้อมูลจะทำให้มองเห็นธุรกิจในเชิงวงกว้าง และจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ง่ายอย่างไม่สะดุด เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นการเข้าแก้ไขที่ปัญหาตรงจุดอย่างทันท่วงที คือสิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจในตอนนี้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้