Last updated: 7 ก.ย. 2566 | 508 จำนวนผู้เข้าชม |
นักลงทุนคงจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ ค่าเงินบาทแข็ง และค่าเงินบาทอ่อน กันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่พูดถึงสองสิ่งเหล่านี้ นั่นย่อมมีผลกระทบต่อตลาดหุ้น แต่รู้หรือไม่ว่า “ค่าเงินบาทแข็ง” และ “ค่าเงินบาทอ่อน” ที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นนั้น มีผลกระทบอย่างไรบ้าง และสำหรับนักลงทุนมือใหม่แล้วค่าเงินเหล่านี้ แบบไหนสำหรับนักลงทุนที่ทำธุรกิจนำเข้าและการส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ จะได้ผลประโยชน์หรือจะเสียผลประโยชน์มากกว่า หาคำตอบได้ผ่านบทความนี้
ค่าเงินบาท กล่าวคือ จำนวนเงินบาทเมื่อมีการแลกเปลี่ยนกับเงินต่างประเทศ โดยอัตราการแลกเปลี่ยนที่มักนิยมนำมากำหนดค่าเงินบาทมากที่สุด คือ เงินดอลลาร์สหรัฐ หรือ USD ซึ่ง ค่าเงินบาทแข็ง หมายถึง เงินบาทของเรานั้นมีค่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อทำการเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ทำให้เราสามารถที่จะใช้เงินบาทในจำนวนเงินที่น้อยลงในการแลกเปลี่ยนเงินสกุลอื่นได้ ยกตัวอย่างเช่น เดิมการแลกเปลี่ยนเงินดอลลาห์สหรัฐที่มีค่าแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 34 บาท/ดอลลาร์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นอัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30 บาท/ดอลล่าร์ หมายความว่าในการแลกเปลี่ยนนี้มีการใช้เงินบาทที่น้อยลง หรืออธิบายได้อย่างง่ายๆ ว่า เงินบาทในปัจจุบันดังตัวอย่างนี้ มีมูลค่าที่สูงมากขึ้น ย่อมหมายถึง “ค่าเงินบาทแข็ง” หรือ “เงินบาทแข็งค่า” นั่นเอง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดค่าเงินแข็งค่าจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้เงินสกุลใดเพิ่มขึ้น หากมีความต้องการที่จะใช้ค่าเงินบาทเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น และมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
ในทางกลับกันของค่าเงินบาทแข็งค่า คือ “ค่าเงินบาทอ่อน” หรือที่อาจได้ยินว่า “เงินบาทอ่อนค่า” ในเชิงความหมายนั้นตรงข้ามกับค่าเงินบาทแข็ง กล่าวคือ เงินบาทมีมูลค่าลดลง เมื่อมีการเทียบหรือแลกเปลี่ยนกับค่าสกุลเงินอื่น และจะต้องใช้เงินบาทเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมในการแลกเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น เดิมการแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าร์ สหรัฐมีอัตราการแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 30บาท/ดอลล่าร์ แต่ในปัจจุบันการแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลล่าร์ สหรัฐนั้นต้องใช้เงินบาทที่มีจำนวนสูงขึ้นกว่าเดิม เป็น 34 บาท/ดอลล่าร์ สหรัฐ หมายความว่าในขณะนี้เงินไทยมีค่าลดลง จำเป็นที่จะต้องใช้เงินบาทในการแลกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้น และจะเรียกกรณีนี้ว่า “ค่าเงินบาทอ่อน” นั่นเอง โดยสาเหตุของการเกิดค่าเงินอ่อนนั้น มีสาเหตุการเกิดด้วยกันหลายปัจจัย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุการเกิดมาจากต่างประเทศเป็นหลัก
สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจประเภทนำเข้าสินค้าหรือส่งออกสินค้า ค่าเงินบาท ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะมีผลอย่างมากต่อธุรกิจและสามารถที่จะสร้างความได้เปรียบไปตลอดจนถึงอาจสร้างความเสียเปรียบในการทำธุรกิจได้เช่นเดียวกัน โดยในกรณีที่เกิดค่าเงินบาทแข็ง ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์และผู้ที่จะเสียผลประโยชน์ต่อในสถานการณ์ค่าเงินบาท กล่าวได้ดังต่อไปนี้
เมื่อเป็นธุรกิจที่มีการข้องเกี่ยวกับการแลกเงิน อย่างธุรกิจนำเข้าหรือธุรกิจ การส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ค่าเงินบาทย่อมมีผลต่อการได้เปรียบและการเสียเปรียบในเชิงธุรกิจอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้น การติดตามข่าวสารและการทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเงิน อัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงินของประเทศต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจควรให้ความสำคัญ เพราะการจะขาดทุนหรือการได้กำไรอาจขึ้นอยู่กับค่าเงินในช่วงนั้นๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
12 ธ.ค. 2566
12 ธ.ค. 2566
12 ธ.ค. 2566